สสส. เผยดัชนีวัดความอยู่ดีมีสุขในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่เพิ่มทุกด้าน ขณะที่ดัชนีความเข้มแข็ง อยู่ในขั้นเข้มแข็งมาก จัดการตนเองได้ พร้อมต่อยอดพัฒนาเครื่องมือวัดความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่นกำจัดจุดอ่อนสร้างชุมชนเข้มแข็ง
1.การบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม
2.การจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน
3.เกษตรกรรมยั่งยืน
4.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน
6.การดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน และ
7.การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนท้องถิ่น เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบ และก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและการสร้างสรรค์แนวทางการบริหารจัดการท้องถิ่นในรูปแบบใหม่ที่ทำให้ชุมชนมีความอยู่ดีมีสุข (wellbeing) และเป็นแนวทางการบริหารจัดการหรือต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้และปฏิบัติตาม
ด้านรศ.ดร. พงษ์เทพ สันติกุล คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ได้พัฒนาเครื่องมือวัดความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่น จากความร่วมมือของ สสส. ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมพัฒนาชุมชน และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เพื่อนำไปกำหนดนโยบายที่เหมาะสมหรือค้นหาจุดที่ไม่เข้มแข็งในการพัฒนาที่อาจละเลย โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ง่าย นักพัฒนาชุมชนของ อปท. เมื่อเรียนรู้แล้วสามารถทำได้เองเมื่อไรก็ได้ สามารถอ่านผลได้เอง โดยสสส.ได้จัดอบรมวิธีการใช้เครื่องมือแก่ อปท. ทั่วประเทศแล้ว 600 อปท. และคาดว่าจะอบรมครบ 900 อปท. ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในต้นปี 2564
รศ.ดร. พงษ์เทพ กล่าวด้วยว่า ตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ 1 มีองค์ประกอบพื้นฐานที่เข้มแข็ง 2 มีกระบวนการหรือวิธีการพัฒนาที่ยึด “ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ระเบิดจากข้างใน และ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางหลักในการพัฒนา 3 มีผลลัพธ์การพัฒนาที่เข้มแข็ง ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเข้มแข็งมาก คือ ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงได้ และสามารถพัฒนาต่อให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นได้
No comments:
Post a Comment