"อว. ประมวลข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิดในคนไทย 10 วันแรก จำนวน 33,621 คน ใน 13 จังหวัด ผลข้างเคียงไม่มาก" - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Wednesday, 10 March 2021

"อว. ประมวลข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิดในคนไทย 10 วันแรก จำนวน 33,621 คน ใน 13 จังหวัด ผลข้างเคียงไม่มาก"

➡️ (10 มีนาคม 2564) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รายงานว่า กระทรวง อว. ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ติดตามและประมวลผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในคนไทยในเชิงรุก โดยสรุปว่า "ขณะนี้ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว จำนวน 33,621 คน ใน 13 จังหวัด ทั้งหมดเป็นวัคซีนของซิโนแวค ผู้ได้รับวัคซีนในระยะแรกนี้ส่วนใหญ่ (76.9%) เป็นบุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข/อสม.  โดยจังหวัดสมุทรสาครฉีดวัคซีนแล้วจำนวนมากที่สุด ตามด้วยกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ชลบุรี  ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับวัคซีนมากกว่า 91% ไม่มีผลข้างเคียง โดยพบผลข้างเคียงใน 8.88% ของผู้ได้รับวัคซีน แต่อาการไม่รุนแรง"

ทั้งนี้มี 9 จังหวัดใน 13 จังหวัดเป้าหมาย ที่ได้ฉีดวัคซีนจำนวนเกินกว่า 80% ของเป้าหมายในระยะที่หนึ่งแล้ว


🌏 สถิติที่สำคัญของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในคนไทย 33,621 คนแรก ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2564 (10 วัน) มีดังนี้

(one). กลุ่มผู้ได้รับวัคซีน เรียงตามลำดับ
-บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข/อสม. 25,896 คน (76.9%) (surgeon)(nurse)
-เจ้าหน้าที่อื่นๆที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,043 คน (12.0%)
-บุคคลที่มีโรคประจำตัว 395 คน (1.2%)
-ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 98 คน (0.3%)
-ยังรอข้อมูลละเอียดเพื่อจำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย 3,216 คน (9.6%)

(two). จังหวัดที่ฉีดวัคซีนแล้ว เรียงตามลำดับ
-สมุทรสาคร (9,636 คน)
-กรุงเทพฯ (3,725 คน)
-สมุทรปราการ (2,542 คน)
-นนทบุรี (2,427 คน)
-ชลบุรี (2,360 คน)
-ปทุมธานี (2,338 คน)
-นครปฐม (1,918 คน)
-เชียงใหม่ (1,661 คน)
-ภูเก็ต (1,625 คน)
-ราชบุรี (1,568 คน)
-ตาก (1,304 คน)
-สุราษฎร์ธานี (1,260 คน)
-สมุทรสงคราม (1,189 คน)

(three). ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน (stethoscope)(stethoscope)
     ผู้ที่ฉีดวัคซีน 91.12% ไม่พบผลข้างเคียงใดๆ โดยมีรายงานผลข้างเคียงใน 2,984 ราย (8.88% ของผู้ที่ฉีด) ซึ่งผลข้างเคียงเกือบทั้งหมดเป็นอาการไม่รุนแรง เรียงตามลำดับ ได้แก่
-อาเจียน (2.34% ของผู้ที่ได้รับวัคซีน)
-ปวดเมื่อยเนื้อตัว (2.22%)
-อักเสบบริเวณที่ฉีด (1.76%)
-ปวดศีรษะ (1.45%)
-ไข้ (1.34%)
-ท้องเสีย (1.23%)
-เหนื่อย (1.01%)
-ผื่น (1.00%)
-คลื่นไส้ (0.56%)
-อื่นๆ (1.33%%)

แหล่งข้อมูล กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)


No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages