การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนใน 18 กลุ่มจังหวัด นำมาประกอบการกำหนดกรอบของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือ พลิกโฉมประเทศไทยไปสู่ “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” ผ่านการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก (Global Megatrends) ผลกระทบจากโควิด 19 ที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง และศึกษาสถานะการพัฒนาของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคง ความสามารถในการแข่งขัน โอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นต้น
ทั้งนี้ ได้กำหนดสิ่งที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายหลักไว้ 4 องค์ประกอบ 13 หมุดหมาย ได้แก่
1. เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เกษตรมูลค่าสูง, ท่องเที่ยวเชิงคุณค่า, ยานยนต์ไฟฟ้า, การแพทย์ครบวงจร, ประตูการค้าและโลจิสติกส์, ดิจิทัล
2. สังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาค
ธุรกิจขนาดย่อม (SMEs), พื้นที่, ยากจนข้ามรุ่นและความคุ้มครองทางสังคม
3. วิถีชีวิตยั่งยืน
เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ, การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
4. ปัจจัยสนับสนุนการพลิกโฉม
กำลังคนที่มีสมรรถนะสูง, ภาครัฐสมรรถนะสูง
โอกาสนี้ ดร. สุภาวิณี ทรงพรวาณิชย์ คณะทำงานจัดทำแผนด้าน ววน. ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ว่า เราสามารถใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นฐานในการขับเคลื่อนทั้ง 13 หมุดหมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักได้ อีกทั้งยังมุ่งหวังให้แผนพัฒนาฯ ให้ความสำคัญกับประเด็นการศึกษาและการสร้างคน ในเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life long learning) อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้ สกสว. จะนำข้อมูลและกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ นี้ ไปเป็นแนวทางการจัดทำแผนด้าน ววน. ปี 2566 - 2570 โดยให้กระบวนการประชาพิจารณ์ จากประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน ต่อกรอบแผนด้าน ววน. เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศในทุกมิติต่อไป
No comments:
Post a Comment