กสว. ประชุมหารือพัฒนาระบบ NSTIS เล็งผลเป็น ‘Big Data’ ฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีของไทย - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Saturday, 17 July 2021

กสว. ประชุมหารือพัฒนาระบบ NSTIS เล็งผลเป็น ‘Big Data’ ฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีของไทย

16 กรกฎาคม 2564 ศาสตราจารย์ นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.)  เป็นประธานการประชุม กสว.ครั้งที่ 7/2564   โดยหนึ่งในประเด็นที่ทางคณะกรรมการ กสว. ร่วมหารือกันวันนี้คือแนวทาง การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Information System หรือ  NSTIS) 

ศาสตราจารย์ นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ

ที่จัดทำขึ้นเพื่อลดความซ้ำซ้อน ของการมีระบบข้อมูลสารสนเทศกลาง ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของประเทศ  และเพื่อให้เป็นระบบสารสนเทศหลักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถใช้ในการบริหารจัดการต่อเนื่องเชื่อมโยงถึงการให้บริการและเป็นฐานข้อมูลในด้านต่างๆที่ครบถ้วน โดยปัจจุบันคณะกรรมการกสว.มีมติให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบ  NSTIS หลัก โดยประสานการดำเนินการร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่ดูแลด้านวิจัยและนวัตกรรม 

ทั้งนี้ ระบบ NSTIS ประกอบด้วยข้อมูลด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) ข้อมูลเครื่องมืออุปกรณ์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   ซึ่งขณะนี้มีข้อมูลอยู่ประมาณ 15,000 รายการ ซึ่งปรากฏรายละเอียดของการให้บริการเครื่องมืออุปกรณ์ดังกล่าว ตามเงื่อนไขของหน่วยงานที่รับผิดชอบ 2) ข้อมูลนักวิทยาศาสตร์ ขณะนี้มีประมาณ 10,000 รายชื่อ ซึ่งกำหนดให้มีการปรับข้อมูลภายในร่วมกับฐานข้อมูลนักวิจัยในระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NRIIS ที่มีอยู่มากกว่า 100,000  รายชื่อ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลด้านบุคลากร และจะเป็นข้อมูลของระบบข้อมูลบุคลากร ววน. ที่สามารถจำแนกแยกแยะบุคลากรเฉพาะด้านต่างๆ หรือบุคลากรที่มีหลายสถานะเชื่อมโยงกัน 3)  ข้อมูลห้องปฏิบัติการ ซึ่งหลังจากนี้จะเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัย ตามโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย 4) ข้อมูลโรงงานต้นแบบหรือโรงงานนำรอง (Pilot plant) 5) ข้อมูลห้องปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์ทดสอบต่างๆ 6) ข้อมูลหน่วยรับรองมาตรฐานด้านต่างๆ โดยในส่วนของห้องปฏิบัติการและหน่วยรับรองมาตรฐานถือเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure หรือ NQI)   อย่างไรก็ตามหลังการประชุมวันนี้  คณะทำงานได้รับมอบนโยบาย กสว. ไปพัฒนาแบบระบบ NSTIS เพื่อให้การบริหารจัดการด้านข้อมูลในระบบวิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนมากที่สุด

 

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages