เกี่ยวกับโครงการความร่วมมือระหว่าง Cigna และ MSD ที่มาและเหตุผล - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Friday, 20 August 2021

เกี่ยวกับโครงการความร่วมมือระหว่าง Cigna และ MSD ที่มาและเหตุผล

ซิกน่า และ เอ็มเอสดี เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำเสนอทางเลือกนวัตกรรมการรักษาใหม่ๆ เพื่อช่วยพัฒนาสุขภาพของประชาชนชาวไทย ผ่านโครงการความร่วมมือที่จัดตั้งโดยทั้งสองบริษัทแคมเปญ “Together 4More Possibility - ร่วมก่อ ต่อโอกาสให้ชีวิต” จะนำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งและนวัตกรรมด้านการรักษา และการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)


เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ของโครงการ

ซิกน่าและเอ็มเอสดี มุ่งมั่นที่เป็นผู้นำนำเสนอข้อมูลความรู้ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ เกี่ยวกับโรคมะเร็งและการรักษาต่างๆ

การจับมือเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ มุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค แนวทางการรักษา รวมถึงการรักษาโรคมะเร็งด้วยนวัตกรรมล่าสุดแบบภูมิคุ้มกันบำบัด เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ความรู้ที่เผยแพร่ในกิจกรรมของโครงการนี้ จะเป็นประโยชน์ให้คนไทยได้เข้าถึงข้อมูลที่อัปเดทและน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญและองค์ความรู้ที่เอ็มเอสดีมี  รวมทั้งทราบถึงทางเลือกด้วยแผนประกันสุขภาพของซิกน่า ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาด้วย ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) 


ลักษณะและรูปแบบกิจกรรมความร่วมมือ

รูปแบบของแคมเปญนี้ นำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งและนวัตกรรมด้านการรักษาโรคมะเร็งซึ่งรวมถึงการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดที่มีประสิทธิภาพ ผ่านช่องทางออนไลน์ของซิกน่า สามารถติดตามได้ที่ https://bit.ly/3kdGn8C หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: CignaThailand หรือ โทร 02 035 2929 (วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลาทำการ 9:30 – 18:00 น.)


แผนพัฒนาโครงการในอนาคตของ Cigna & MSD

ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทั้งสองบริษัทฯมีพันธกิจร่วมกันเพื่อยกระดับความรู้และความเข้าใจในด้านสุขภาพที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์กับคนไทยโดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับโรคมะเร็งและการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันที่จะยังคงมีการพัฒนาต่อไปอีกอย่างต่อเนื่อง 

จากผลการดำเนินโครงการในก้าวแรกของความร่วมมือในครั้งนี้  ทั้งสองบริษัทฯ จะนำมาพิจารณาหาแนวทางการต่อยอดความร่วมมือดังกล่าวต่อไปในอนาคต โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการ เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนไทยที่สนใจสามารถเข้าถึงความรู้ข้อมูลเรื่องโรคและนวัตกรรมการรักษาและป้องกันโรค อันจะนำไปสู่สังคมคุณภาพและร่วมกันสร้างความหวังที่มากกว่าวันพรุ่งนี้ให้กับคนไทยของเรา


ประโยชน์ที่คาดว่าประชาชนจะได้รับ 

ความรู้ที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค แนวทางการรักษา รวมถึงการรักษาโรคมะเร็งด้วยนวัตกรรมล่าสุดแบบภูมิคุ้มกันบำบัด รวมทั้งทราบถึงทางเลือกในการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

ความสำคัญและแนวทางในการวางแผนในการดูแลสุขภาพในระยะยาวซึ่งครอบคลุมถึงการรักษาโรคมะเร็งซึ่งเป็นโรคที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นในทุกวัน

เกี่ยวกับโรคมะเร็ง การป้องกันและการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน และนวัตกรรมการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)


มุมมองของโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นกับคนไทย

ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มีความสนใจในข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งและการรักษาในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นเพราะโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งนั้นมีวิวัฒนาการทางด้านการรักษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วมาก และยังมีทางเลือกในการรักษาใหม่ๆ 

ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระหว่างการรักษา ดังนั้นข้อมูลข่าวสารในการรักษามะเร็งที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นที่ต้องการของบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่รักและใส่ใจเรื่องสุขภาพซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน


ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคมะเร็งในประเทศไทย

จากข้อมูลของ Globocan ซึ่งเป็นโครงการ ศึกษาและประมาณอุบัติการณ์และอัตราการเสียชีวิตของโรคมะเร็งต่างๆ ทั่วโลกโดยใช้ฐานข้อมูลของ International Agency for research on Cancer (IARC) ขององค์การอนามัยโลก พบว่า ในปีพ.ศ. 2563 สถิติของผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทยเป็นผู้ป่วยมะเร็งตับรายใหม่ จำนวน 27,394 คน เป็นอันดับแรก ผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่ จำนวน 23,713 คนเป็นอันดับสอง และผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ จำนวน 22,158 คนเป็นอันดับสาม ซึ่งมะเร็งสามประเภทนี้ถือเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในประเทศไทย


ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และการอุปโภคบริโภคที่ไม่เหมาะสมและการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ อีกทั้งสาเหตุใหญ่จากการได้รับสารก่อมะเร็ง รวมทั้ง 

การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิต่างๆ

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน

ปัจจุบันมีการรักษาโรคมะเร็งมีหลายวิธี อาทิ การผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา ยามุ่งเป้า และนวัตกรรมการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัด ฯลฯ

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) คืออะไร

การรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดคือทางเลือกใหม่ในการรักษาให้กับผู้ป่วยมะเร็ง โดยพบว่าการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและสามารถยืดชีวิดผู้ป่วยมะเร็งในระยะแพร่กระจายได้ รวมทั้งมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยกว่าเมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัด โดยปัจจุบันการรักษาในรูปแบบนี้ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาประเทศไทยในการรักษามะเร็งระยะแพร่กระจายใน 16 ชนิดมะเร็ง 

มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดที่แตกต่างจากการทดลองพบว่ามีชนิดมะเร็งถึง 23 ชนิด ที่ตอบสนองได้ดีต่อการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด โดยเฉพาะมะเร็งปอด มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา หรือมะเร็งลำไส้ เป็นต้น  วิธีการนี้ถือเป็นมาตรฐานในการรักษาโรคมะเร็งวิธีหนึ่งในปัจจุบัน และในอนาคตการรักษามะเร็งโดยวิธีการปลดล็อคภูมิต้านทานด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด 

ก็คงจะพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี และสามารถปลดล็อคภูมิต้านทานในการสร้างความหวังที่มากกว่าวันพรุ่งนี้ให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความสำคัญของการรักษาโรคมะเร็งด้วยนวัตกรรมล่าสุดแบบภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

การรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดสามารถยืดชีวิตผู้ป่วยมะเร็งในระยะแพร่กระจายได้ 

เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระหว่างการรักษา และช่วยเพิ่มโอกาสในการตอบสนองต่อการรักษาและสามารถลดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดได้จากการรักษาน้อยกว่าเมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัดซึ่งเป็นการรักษามาตรฐานแบบดั้งเดิม

การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งในส่วนของเครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการวินิจฉัยและการรักษา รวมทั้งการคิดค้นนวัตกรรมทางด้านยาในการรักษาให้เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งพบว่าสามารถเพิ่มโอกาสในการตอบสนองต่อการรักษาและสามารถลดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดได้ หรือที่เรียกว่า Personalized medicine หรือ Precision medicine 

โดยใช้ Biomarker หรือตัวชี้วัดทางชีวภาพในโรคมะเร็งเป็นการตรวจสอบ เพื่อดูประเภทของยีนในมะเร็งชนิดต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลทางพันธุกรรมหรือข้อมูลในระดับโมเลกุล มาใช้ในการตรวจวินิจฉัย การเลือกรูปแบบการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีรักษา ก็ยังมีการรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted therapy) รวมถึงการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ “Immunotherapy” 

ที่เป็นทางเลือกในการรักษาในปัจจุบัน ที่พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และสามารถลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาที่มีได้

 

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages