USE HEART TO CONNECT ใช้พลังเชื่อมต่อทุกหัวใจให้แข็งแรง สุขภาพดี - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Wednesday, 29 September 2021

USE HEART TO CONNECT ใช้พลังเชื่อมต่อทุกหัวใจให้แข็งแรง สุขภาพดี

เนื่องในวันหัวใจโลก 2564 (World Heart Day 2021) ซึ่งตรงกับวันที่ 29 กันยายนปีนี้ สมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) อยากให้ทุกคน USE HEART TO CONNECT  ใช้พลังดิจิทัลเชื่อมต่อหัวใจทุกดวงให้มีสุขภาพหัวใจที่ดีเพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรงของทุกคน เพราะโรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ดังนั้นการดูแลหัวใจให้แข็งแรงด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจเช็กหัวใจตามคำแนะนำของแพทย์ ย่อมช่วยให้หัวใจแข็งแรงนำมาซึ่งการมีสุขภาพดีและอายุที่ยืนยาว 

นพ. เกรียงไกร เฮงรัศมี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า การติดเชื้อไวรัส COVID-19 จะส่งผลต่อระบบหัวใจได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในผู้ติดเชื้อบางรายในระยะสั้นจะมีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการมักไม่รุนแรง ส่วนใหญ่คนไข้ที่มีอาการรุนแรงจะเกิดจากโรคประจำตัวอื่น โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ ภาวะทางเดินหัวใจล้มเหลว และภาวะปอดอักเสบรุนแรง ในระยะยาวบางรายอาจมีอาการใจสั่น เหนื่อย ระดับน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นผลจากรอยโรคที่เกิดจาก COVID-19 ที่หัวใจ ปอด หลอดเลือด และสมอง กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่ มีภาวะหัวใจล้มเหลว อย่างไรก็ตามปัจจุบันการฉีดวัคซีน COVID-19 เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ จากผลการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา ในคนไข้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจะมีความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น 8 เท่า ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 25 เท่าและมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตถึง 24 เท่า 

ในปีนี้ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ มุ่งเน้นเชื่อมต่อหัวใจให้สุขภาพดี (USE HEART TO CONNECT EVERY HEART) พร้อมให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างใกล้ชิดทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ยืนยาว ประกอบไปด้วย 3 มิติในการดูแล ได้แก่ 


1. ความเท่าเทียมกัน (EQUITY) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการเข้าถึงการรักษาได้ทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งเราให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยหัวใจแบบครบทุกมิติ มีการให้ข้อมูลการดูแลรักษาและป้องกันโรคหัวใจผ่านทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์รพ.หัวใจกรุงเทพ, Line Official Heart Care, แอปพลิเคชัน My B+, การพูดคุยกับผู้ป่วยหัวใจแบบออนไลน์ Telemedicine เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง สามารถตรวจติดตามอาการ ดูแลและป้องกันโรคได้ตลอด 24 ชั่วโมง 

2. การป้องกัน (PREVENTION) การป้องกันโรคหัวใจสามารถทำได้ด้วยการดูแลตัวเองให้ถูกวิธี ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ งดสูบบุหรี่ ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลดูแลชีพจรหัวใจ อย่าง แอปพลิเคชันต่าง ๆ, Smart Watch ตรวจเช็กสุขภาพหัวใจ ได้แก่ ตรวจยีน, ตรวจอัลตราซาวนด์, ตรวจ MRI, ตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echo), ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG/EKG), ตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CAC) เป็นต้น 


3. สังคมและชุมชน (COMMUNITY) มีหลายล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดและได้รับผลกระทบในช่วง COVID-19 อาจไม่ได้มาพบแพทย์ตามนัด ตลอดจนไม่ได้พบกับครอบครัวและคนใกล้ชิด โรงพยาบาลตระหนักถึงการเข้าถึงการรักษาอย่างต่อเนื่องและโดยเร็วที่สุดจึงพร้อมให้การดูแลอย่างทั่วถึง ผู้ป่วยสามารถใช้พลังของดิจิทัล ติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์รพ. หัวใจกรุงเทพ, Line Official Heart Care, แอปพลิเคชัน My B+, การทำประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจผ่านสื่อออนไลน์ และการพูดคุยกับผู้ป่วยหัวใจแบบออนไลน์ Telemedicine เป็นต้น เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาหัวใจอย่างเหมาะสมโดยเร็วที่สุด หากมีโรคประจำตัวอย่างโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ฯลฯ ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพตามนัดหมาย หากมีอาการผิดปกติให้ติดต่อแพทย์เฉพาะทางและโรงพยาบาลทันที 

ทั้งนี้ โรงพยาบาลตระหนักและพร้อมดูแลผู้ป่วยด้วยมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุดเพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจในทุกการรักษา ได้แก่ 1.ป้องกันโรคในทุกจุดบริการ ด้วยมาตรฐานการให้บริการในด้านความสะอาดของสถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรโรงพยาบาลผ่านการตรวจหาเชื้อ COVID-19 และได้รับวัคซีนเป็นที่เรียบร้อย เพื่อควบคุมโรคอย่างเข้มงวดและให้ความมั่นใจกับผู้มารับบริการ 2.พร้อมทุกการผ่าตัดหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีผ่าตัดตามนัดหมายและผ่าตัดเร่งด่วนฉุกเฉิน ทีมแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจจะทำการตรวจประเมินโดยละเอียด เตรียมความพร้อมการผ่าตัดภายใต้มาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด และทำการผ่าตัดทันทีเพื่อลดความรุนแรงและประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา 3.บริการสุขภาพส่งตรงถึงบ้าน ได้แก่ บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (Teleconsultation) ผู้ป่วยสามารถปรึกษาปัญหาโรคหัวใจกับแพทย์เฉพาะทางหัวใจผ่านทางโทรศัพท์ หรือ VDO conference ตลอดจนบริการจัดส่งยาทั่วประเทศไทย บริการเจาะเลือดที่บ้านและบริการฉีดวัคซีนที่บ้านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

 

อยากให้ทุกคนตระหนักเสมอว่า การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดย่อมดีกว่าการรักษา โรคหัวใจป้องกันได้ด้วยการกินดี นอนดี ออกกำลังกายดี หมั่นตรวจเช็กสุขภาพหัวใจ แต่ถ้ามีอาการหัวใจผิดปกตินั้นรอไม่ได้ ให้รีบตรวจเช็กกับแพทย์เฉพาะทางทันที รู้ก่อนรักษาก่อน เพิ่มโอกาสในการหาย และถ้าป่วยเป็นโรคหัวใจแล้วต้องคุมปัจจัยเสี่ยงให้ดี พบแพทย์ตามนัด ทำการรักษาอย่างจริงจัง เพื่อให้สุขภาพหัวใจดีแข็งแรงไปอีกนาน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ รพ.หัวใจกรุงเทพ โทร. 02-310-3000 โทร.1719  หรือ Heart Care LINE Official : @hearthospital 

 

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages