การผ่าตัดรักษาโรคปอดไม่น่ากลัวอีกต่อไป โดย นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะ ทางด้านโรคปอด โรงพยาบาลวชิรพยาบาล - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Monday, 11 October 2021

การผ่าตัดรักษาโรคปอดไม่น่ากลัวอีกต่อไป โดย นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะ ทางด้านโรคปอด โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

ในช่วงนี้ถึงแม้ว่าการผ่าตัดผู้ป่วยจะค่อนข้างถูกจำกัด จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และสภาพอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคของประเทศ ส่งผลทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับปอด เช่นโรคมะเร็งปอด, โรคลมรั่วในปอดและโรคปอดชนิดอื่น ๆ ซึ่งเพิ่มมากขึ้น และ โดยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดปอดนั้นเป็นการผ่าตัดใหญ่ จึงส่งผลทำให้มีผู้ป่วยบางรายที่กำลังจะได้รับการรักษาค่อนข้างกังวล และ ไม่กล้าเข้ามารับการรักษา อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาไปมากส่งผลทำให้การผ่าตัดปอดไม่น่ากลัวอีกต่อไป

นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านโรคปอด โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่าในยุคเริ่มต้นของการผ่าตัดปอดนั้นได้ริเริ่มทำการผ่าตัดโดยการเปิดช่องอก ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องตัดกล้ามเนื้อหลายมัดและถ่างขยายกระดูกซี่โครงในการเข้าไปทำการผ่าตัด ส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดอาการปวดเรื้อรังหลังจากการผ่าตัดค่อนข้างสูง แต่ปัจจุบันการผ่าตัดปอดได้มีการพัฒนาโดยเฉพาะการผ่าตัดส่องกล้อง ส่งผลทำให้การผ่าตัดปอดนั้นเป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัย โดยในผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวโอกาสที่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงนั้นน้อยกว่าเพียงแค่ 1เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดปอดส่วนมากมักจะค่อนข้างกังวลเนื่องจากกลัวว่าหลังจากผ่าตัดยังจะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติหรือไม่ ดังนั้นก่อนทำการผ่าตัดปอดทุกครั้ง จึงควรต้องประเมินสมรรถภาพปอด ( Pulmonary function test) ว่าผู้ป่วยสามารถทนต่อการผ่าตัดได้หรือไม่ ในกรณีที่สมรรถภาพปอดไม่เพียงพอ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีทางอื่นแทน ซึ่งนอกจากตรวจการประเมินสมรรถภาพปอดแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องตรวจหาโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย ที่สำคัญเป็นโรคที่อาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดปอด เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคเส้นหลอดเลือดหัวใจตีบ 

การฟื้นตัวหลังจากการผ่าตัดปอดนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่หลังผ่าตัดอาจจำเป็นต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 2-3 วันหลังจากการผ่าตัดหรือในรายที่มีโรคร่วมอาจนานกว่านั้น โดยหัวใจการฟื้นตัวนั้น คือการหมั่นบริหารปอด ซึ่งทำได้โดยฝึกบริหารด้วยตัวเองโดยใช้อุปกรณ์เรียกว่า Incentive Spirometry เพื่อป้องกันปอดแฟ่บหรือขยายไม่เต็มที่หลังจากการผ่าตัด หลักการของอุปกรณ์ตัวนี้ คือ การกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถสูดหายใจเข้าแรง ๆ จนลูกบอลลอยขึ้นสูงสุดและค้างนานที่สุด เพื่อที่จะให้ได้ปริมาตรอาการเข้าปอดได้อย่างเต็มที่เป็นระยะเวลานานที่สุด ซึ่งหลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไอหรือระคายเคืองหรือมีอาการเจ็บแปลบบริเวณชายโครงที่ผ่าตัด ซึ่งเกิดจากปลายประสาทอักเสบซึ่งพบได้บ่อยหลังจากการผ่าตัดและโดยส่วนมากอาการจะดีขึ้นตามลำดับประมาณ 2- 3 เดือน

เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน  โดยส่วนมากจะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น เดินเข้าห้องน้ำหรือทำงานบ้าน เมื่อคล่องขึ้นก็จะสามารถทำกิจวัตรนอกบ้านได้ ส่วนการออกกำลังกายจะสามารถทำได้ใกล้เคียงหลังพ้นช่วงฟื้นตัวหลังจากการผ่าตัด นอกจากนี้คำแนะนำหลังจากการผ่าตัดปอด มักจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการขึ้นเครื่องบินหรือดำน้ำลึก หลังจากการผ่าตัดประมาณ 1 ถึง 2 เดือน ส่วนอาหารนั้นควรรับประทานให้เพียงพอและไม่มีอาหารชนิดใดที่ห้ามกินเป็นพิเศษ ยกเว้นมีข้อห้ามในโรคอื่นที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ 


No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages