สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ เรื่อง : ทำอย่างไรคนไทยจะไม่ใหลตาย: การค้นหาสาเหตุทางพันธุกรรมและการรักษาโรคใหลตาย ให้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ กุลวี เนตรมณี และคณะ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ เป็นที่ปรึกษา เพื่อศึกษาหาสาเหตุทางพันธุกรรมและการรักษาโรคใหลตายภัยเงียบที่ทำให้คนนอนหลับเสียชีวิต
ทีมนักวิจัย ได้ทำการค้นคว้าและศึกษา “ทำอย่างไรคนไทยจะไม่ใหลตาย” ซึ่งค้นพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิด “โรคใหลตาย (Brugada syndrome)” พบว่าพันธุกรรมของโรคใหลตายในผู้ป่วย 239 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 478 คน โดยวิธีถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ทั้งหมด (whole genome sequencing) พบว่า จำนวนประมาณ 15% มีความเกี่ยวข้องกับการกลายพันธุ์ในยีน SCN5A โดยประมาณครึ่งหนึ่ง กลายพันธุ์ชนิด p.R965C ดังนั้นจึงมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามาร่วมทำให้เกิดโรคพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้สาเหตุจากการเกิดโรคทางพันธุกรรมที่มีความซับซ้อนโรคแบบพหุยีน (polygenic) ซึ่งการค้นพบนี้สามารถนำมาพัฒนาในการศึกษาวิจัยเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคนี้ได้
ทั้งนี้ จากการค้นพบตัวการของการเกิดโรคจากการถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์นั้น ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยพบว่ามียีนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ SCN5A, SCN10A และ HEY2 ซึ่งการค้นพบสาเหตุการเกิดโรคสามารถนำมาสู่การต่อยอดที่จะมีส่วนสำคัญต่อกระบวนการทางการแพทย์ของไทย โรคใหลตาย Brugada syndrome สามารถรักษาได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยผู้ป่วยเสี่ยงสูงจะได้รับการใส่เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (implantable cardioverter-defibrillator) ผลการรักษาโรคนี้ด้วยการจี้ทำลายจุดที่ผิดปกติในหัวใจด้วยคลื่นวิทยุ (RF ablation) เทียบกับการรักษามาตรฐานในปัจจุบัน ผลการรักษายังได้รับการติดตามอยู่ในขณะนี้จะเป็นการนำไปสู่แนวทางการรักษาโรคได้ในอนาคตโดยการพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการศึกษารหัสพันธุกรรมของมนุษย์นั้นนำไปสู่แนวทางของการรักษาโรคใหลตายที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกกลุ่มวัยในสังคมไทยเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ
No comments:
Post a Comment