16 ปี สทน.ชูการ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เทรนด์โลกในทศวรรษหน้า - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Monday, 11 April 2022

16 ปี สทน.ชูการ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เทรนด์โลกในทศวรรษหน้า

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. (Thailand Institute of Nuclear Technology : TINT) ก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2549  ภารกิจหลักของ สทน. นอกเหนือจากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวิเคลียร์แล้ว ยังให้บริการ เผยแพร่ และการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาประยุกต์ใช้พัฒนาประเทศด้านในต่าง ๆ 

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2565 รศ.ดร.ธวัชชัย  อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า สทน.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นองค์ประธาน งานครบรอบ 16 ปี วันสถาปนาสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ  ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “วันดีดี กับเทคโนโลยีนิวเคลียร์” One fine day with nuclear technology (Better solutions for the bright future) และพระราชทานรางวัลให้แก่ผู้ให้การสนับสนุนการใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีนิวเคลียร์ จำนวน  8 รางวัล ได้แก่ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข  ด้านอุตสาหกรรมการผลิต  ด้านอุตสาหกรรมอาหาร  ด้านอุตสาหกรรมอัญมณี  ด้านการเกษตร  ด้านการศึกษา ด้านให้การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่ออนาคต ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และรางวัลผู้มีคุโณปการที่ให้การสนับสนุนสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ  

ซึ่งในปีนี้ สทน. ได้จัดงานยิ่งใหญ่กว่าทุกปี  มีการรวบรวมงานด้านวิชาการและผลงานการวิจัยและพัฒนาด้านต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ผลงานการพัฒนาทางด้านสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานราก รวบรวมนำมาจัดเป็นนิทรรศการ 6 ด้าน คือ 

1) นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ กับพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อกิจกรรมด้านนิวเคลียร์ของประเทศ 

2) นิทรรศการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในงานโบราณคดี 

3) นิทรรศการด้านงานวิศวกรรมของ สทน. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข 

4) นิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์  

5) นิทรรศการ “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” พลังงานสะอาดแห่งอนาคตเพื่อคนไทย 

6) นิทรรศการอาหารพื้นถิ่นไทย พัฒนาได้ด้วยเทคโนโลยีนิวเคลียร์

​นอกจากนี้ ผอ.สทน. ได้แถลงข่าว สรุปผลการดำเนินงานของ สทน. ในรอบ 16 ปี ถึงผลงานที่นำไปประยุกต์ในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ว่า ปัญหาสำคัญที่จะเกิดขึ้นที่เป็นปัญหาสำหรับคนส่วนใหญ่ หรือเป็นเทรนด์ของโลกหลังจากสถานการณ์โควิด และหรือเหตุการณ์การสู้รบของ 2 ประเทศสำคัญๆ ของโลก สทน. จึงพยายามนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาประะยุกต์ใช้เพื่อที่จะมีส่วนในการแก้ไขปัญหาที่เป็นเทรนด์ของโลกเหล่านี้ โดยกำหนดเป็นแผนุยทธศาสตร์ สทน. 4 ปี (พ.ศ.2564 - 2567) เพื่อขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ ดังนี้

​กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และการยกระดับสังคมเชิงบูรณาการ โดยมีเป้าหมาย ส่งเสริมและขยายการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อแก้ปัญหา และตอบสนองความต้องการในทุกภาคส่วน โดยการบูรณาการกับเครือข่ายที่มีศักยภาพ  

กลยุทธ์ที่ 2 การวิจัยและการพัฒนาเชิงบูรณาการกับเครือข่ายที่มีศักยภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์โดยอาศัยความร่วมมือ และมุ่งสู่การนำไปใช้ประโยชน์แบบบูรณาการกับเครือข่ายที่มีศักยภาพ และการพึ่งพาตนเองในอนาคต 

กลยุทธ์ที่ 3 เป็นผู้นำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในอาเซียน เป้าหมายเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำ ทางวิชาการ และเป็นที่ยอมรับ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในอาเซียน 

กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืน เป้าหมายเพื่อพัฒนาการทำงานและสร้างความสามารถในการแข่งขันขององค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล ตลอดจนรักษาและพัฒนาสมรรถนะขององค์กรด้วยบุคลากรคุณภาพสูง   โดยจะดำเนินงานผ่านกิจกรรมสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ข้างต้น ดังนี้

​1. โครงการพัฒนาอาหารพื้นถิ่นด้วยการฉายรังสี เพื่อสร้างนวัตกรรมการฉายรังสี สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านไทย ยกระดับสินค้าเพื่อให้สะอาด ปลอดภัยและมีมาตรฐาน สามารถเป็นช่องทาง การจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการได้

​2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเครื่องมือทางนิวเคลียร์ โดยเครื่องไซโคลตรอน เพื่อการพัฒนาทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ทางรังสี ลดการนำเข้าเภสัชรังสี ได้ปีละราว 800 ล้านบาท การพัฒนาเครื่อง    โทคาแมค (Tokamak) เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฟิวชัน และพลาสมา การพัฒนาเครื่องเอกซเรย์ในอุตสาหกรรมเพื่อลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ​

3.การพัฒนาการให้บริการ และขยายการบริการสู่ตลาดต่างประเทศ โดยการตรวจสอบหอกลั่นใต้น้ำ เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การผลิตและจำหน่ายเภสัชรังสีให้กับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว พม่า กัมพูชา

​4. การเป็นผู้นำทางวิชาการและในระดับนานาชาติ ผ่านโครงการ TINT2U การสนับสนุนทุนวิจัยให้กับนักวิจัยจากหน่วยงานและมหาวิทยาลัยต่างๆที่ร่วมทำวิจัยกับสทน. รวมทั้งร่วมผลิตผลงานวิจัยกับผู้ใช้ประโยชน์จริง เช่น โครงการพัฒนาระบบการฉายรังสีน้ำยาง การฉายรังสีน้ำยางธรรมชาติที่ผสมกับสารเคมี เพื่อให้มีการจับตัวกันของพอลิเมอร์เป็นแผ่นยาง การปรับปรุงพันธ์กัญชง กัญชาเพื่อการพัฒนาทางการแพทย์

5.โครงการสำคัญที่จะสนับสนุนให้ผู้ใช้ประโยชน์ เกิดความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการ และสร้างความเข้าใจด้านนิวเคลียร์ ทั้ง Digital Transformation การสื่อสารครบวงจรเพื่อการรับรู้การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ 


และพระราชทานรางวัลให้แก่ผู้ให้การสนับสนุนการใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีนิวเคลียร์ จำนวน 8 รางวัล ได้แก่ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านอุตสาหกรรมการผลิต ด้านอุตสาหกรรมอาหาร ด้านอุตสาหกรรมอัญมณี ด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านให้การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่ออนาคต ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

ประกอบด้วย 8 หน่วยงานดังนี้ 

1. โรงพยาบาลศิริราช ที่ร่วมผลักดันให้เกิดการวิจัยและพัฒนา นำไปสู่การให้บริการสารไอโซโทปรังสี เภสัชภัณฑ์รังสี เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการวินิจฉัย และรักษาโรคต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพ 

2.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ส่งเสริมการศึกษาและวิจัยด้านเทคโนโลยีพลาสมาและฟิวชัน เพื่อนำไปสู่การสร้างพัฒนาด้านพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและ ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต

3.กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อศึกษาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลด้วยเทคนิคการหาอายุด้วยคาร์บอน- 14 ใช้ในการประเมินอายุน้ำบาดาล และเทคนิค ทางไอโซโทปเสถียรใช้ในการระบุแหล่งที่มาของน้ำบาดาล 

4.. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้การสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ในโรงเรียน โดยดำเนินการในรูปแบบโครงการนำร่อง ผ่านโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์จำนวน 12 โรงเรียน

5. องค์การบริหารส่วนตำบลตรอกนอง อ.ขลุง จังหวัดจันทบุรี ตำบลตรอกนอง เป็นพื้นที่ต้นแบบ การจัดการแมลงวันผลไม้ในพื้นที่กว้างโดยเทคนิคแมลงเป็นหมันร่วมกับวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม จนปัจจุบันเป็นเขตพื้นที่มีประชากรแมลงวันผลไม้ต่ำที่สามารถยอมรับได้ ทางกักกันพืชเพื่อการส่งออก 

6. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด สนับสนุนงานวิจัย พัฒนาการใช้ประโยชน์จากเทคนิคเชิงนิวเคลียร์ และการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเคมี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ นำไปสู่การ เกิดองค์ความรู้ และสามารถลดต้นทุนการสูญเสียจากกระบวนการผลิต และลดมูลค่าการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

7. บริษัท ไทยอินโนฟู้ด จำกัด ผู้ประกอบการที่ร่วมวิจัยและพัฒนา ตลอดจนสร้างการรับรู้ด้านเทคโนโลยีการฉายรังสีอาหาร และเป็นผู้ผลิตภัณฑ์แหนมฉายรังสีรายแรกของไทย ถือเป็นการยกระดับคุณภาพอาหารพื้นบ้านให้มี ความสะอาด ปราศจากเชื้อ และความตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค และ

8. บริษัท สยาม บลูโทแพซ แอนด์ มาสเทอพีส เจมส์ จำกัด ผู้ผลิตอัญมณีฉายรังสีรายแรกของไทย ทั้งยังสนับสนุนการศึกษาวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับอัญมณีฉายรังสี เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดอัญมณีทั้งในและต่างประเทศ


และรางวัลผู้มีคุโณปการที่ให้การสนับสนุนสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ได้แก่ 

1. รองศาสตราจารย์ ธัชชัย สุมิตร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิวเคลียร์ มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการวิจัย และนวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรด้านนิวเคลียร์ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ทั้งยังทุ่มเทกำลังความรู้ความสามารถในนามของกรรมการสถาบัน กำกับดูแลการด้านการดำเนินงาน ส่งผลให้สถาบันเป็นที่ยอมรับทั้งจากหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานการศึกษา  และองค์กรในระดับนานาชาติ 

2. รองศาสตราจารย์อัญชลี กฤษณจินดา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการร่วมผลักดันการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ด้านการแพทย์จนเป็นที่ยอมรับทั้งจากองค์กรภายในและต่างประเทศ อีกทั้งยังทุ่มเทกำลังความรู้ความ สนับสนุนกิจกรรมของสถาบันด้านการแพทย์และสาธารณสุขด้วยดีเสมอมา

3. ผู้ช่วยศาสตรจารย์สุวิทย์ ปุณณะชัยยะ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศกรรมนิวเคลียร์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา และถ่ายทอดความรู้ด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์แก่บุคลากรของสถาบัน เพื่อให้สามารถพัฒนาเครื่องมือทางนิวเคลียร์โดยลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ตลอดจนร่วมพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านการใช้ประโยชน์จากนิวเคลียร์และรังสี ให้กับบุคลากรจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานกับรังสีได้อย่างปลอดภัย

หลังจากนั้นผู้บริหารสทน.ได้ร่วมลงนามความร่วมมือเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านพลาสมา และเทคโนโลยีฟิวชันระหว่าง สทน. กับหน่วยงานเครือข่าย CPaF กับมหาวิทยาลัยต่างๆ 24 มหาวิทยลัย 





No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages