มร. ทีบอร์ พานดิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะตัวแทนมูลนิธิซิตี้ ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ซิตี้ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการ Citi-Kenan Micro and SME Academy for Digital Youth นี้ โดยมุ่งเน้นไปในเยาวชนระดับอาชีวศึกษา ให้มีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล และพัฒนาขีดความสามารถให้พร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล เพื่อเป็นกำลังสำคัญที่ผลักดันประเทศไทยให้พร้อมแข่งขันใน ระดับภูมิภาค และระดับโลกอย่างยั่งยืนต่อไป”
นางสาววันวิสาข์ โคมินทร์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์ กล่าวถึงการแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจนี้ว่า “มูลนิธิซิตี้ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความรู้ และเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ในทุกๆ ด้านก่อนเจอสถานการณ์จริง ผู้เข้าแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจภายใต้โครงการอบรมเยาวชนสู่การเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลทุกท่าน ได้รับการปูพื้นฐานความรู้ในการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วน เริ่มตั้งแต่การพัฒนาทักษะทางธุรกิจ การทำแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas), การทำความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า (Insights & Customer Behavior), การทำคอนเทนต์การตลาด (Content Marketing), การทดลองขายของในตลาดออนไลน์ การอบรมพิเศษกับ Google Thailand เกี่ยวกับ การขายและการบริการบนออนไลน์ผ่านโมเดล 4S (Surfaces across Google, Site, Set-up, Scale) การฝึกทักษะการนำเสนอ และ การพิช (SpeakPro Power Pitching Skills) การแนะนำ แบบ 1-1 เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนแข่งขัน (1-1 Finalist Preparation) โดยได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดตลอดการพัฒนาแบบจำลองธุรกิจ รวมทั้งจัดให้มีการแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจ ที่ประยุกต์ความรู้ทางสายอาชีวศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการได้อย่างชัดเจน และตอบโจทย์ตลาดออนไลน์ ซึ่งผลของการดำเนินโครงการในครั้งนี้ นอกจากเปิดโอกาสให้เยาวชนที่ร่วมโครงการได้พัฒนาตนเองและเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นแล้ว ยังเป็นการเข้าถึงทักษะอาชีพ การเข้าสู่ตลาดแรงงาน และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอีกด้วย”
โครงการอบรมเยาวชนสู่การเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 จนถึง กรกฎาคม 2565 โดยทำการคัดเลือกเยาวชน 500 ท่านเข้าสู่โครงการ เพื่อนำมาฝึกอบรมทักษะด้านธุรกิจและการตลาดออนไลน์ในยุคดิจิทัล ซึ่งมีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ 10 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี วิทยาลัยพณิชยการบางนา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี และวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร หลังจากนั้น ทำการคัดเลือกเหลือเพียง 50 ท่าน เพื่อนำเสนอแผนธุรกิจ Business Model Canvas ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์จากหลากหลายสาขาอาชีพ นำโดย นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย, ดร.วิชัย ลิมปิติกรานนท์ ผู้จัดการอาวุโส มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย, นายกันฐพงศ์ เจียวก๊ก ผู้จัดการฝ่ายการตลาด มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย, นางสาววันวิสาข์ โคมินทร์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์, นายปรวี ศรีสง่า ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโพลีเทคนิค และรองประธานกรรมการอาชีวศึกษากรุงเทพ, และ ผู้แทนจาก อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ประเทศไทยสำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และรางวัลต่างๆ ในโครงการอบรมเยาวชนสู่การเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล ได้แก่
1. รางวัลชนะเลิศ มูลค่า 30,000 บาท ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ “คำไทย” ขนมแครกเกอร์ รสเมี่ยงคำ จากวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง มูลค่า 20,000 บาท ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ JELBEAR SHAMPOO จากวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี
3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง มูลค่า 10,000 บาท ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ U-Patcha Brand จากวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก มหานคร
4. รางวัล Popular Vote มูลค่า 5,000 บาท ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ Siri Brand ออกแบบโลโก้เพื่อนักธุรกิจใช้หลักโหราศาสตร์ จากวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี
ติดตามความเคลื่อนไหวหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/KenanThailand
No comments:
Post a Comment