นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ถึงสถานการณ์อนาคตมีแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมกลุ่มเทคโนโลยีเชิงลึก ARI Tech จะสามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจสูงถึง 10 ล้านล้านบาท โดยขณะนี้ผู้ประกอบการไทยก็มีทิศทางนำเทคโนโลยีเชิงลึก ARI Tech มาใช้เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ เชิงนวัตกรรมใหม่ ๆ ในแต่ละภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมรถยนต์, อาหารเครื่องดื่ม, โรงพยาบาล
เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกของการนำ ARI Tech ที่เกิดจากการ Cross Technology หรือ ผสมผสานกันระหว่าง A - Artificial Intelligence (เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์) R-Robotics (เทคโนโลยีหุ่นยนต์) และ I- Immersive (เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง) เพื่อให้เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์และการบริการ ใหม่ ๆ ที่มีนวัตกรรมฉลาด ล้ำสมัยมากขึ้น สามารถตอบโจทย์เพื่อหา Solution ใหม่ ๆ ตามความแตกต่างของการใช้งานของผู้บริโภค หรือ ลูกค้าที่มีพฤติกรรม และ ความชอบ ไม่เหมือนกัน
ขณะเดียวกันก็เป็นการรองรับเพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในตลาดอนาคตของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม เพราะถ้าเป็นเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เป็น เทคโนโลยีเชิงเดี่ยว ๆ เช่น AI อย่างเดียว หรือ Robotics อย่างเดียว ทุกอุตสาหกรรมสามารถลอกเลียนแบบ หรือ ก้าวตามทันเทคโนโลยีการผลิตกันได้ แต่ถ้าเป็น ARI Tech จัดว่าเป็นกลุ่ม Deep Technology ที่ต้องอาศัยงานวิจัยด้านองค์ความรู้เชิงลึกมากขึ้นทั้งศาสตร์ของนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ,เทคโนโลยีหุ่นยนต์ และ เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการขยายผลไปสู่การพัฒนาสินค้าที่นวัตกรรมหรือ Solution ใหม่ ๆ มากขึ้น นับว่าเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยที่จะเดินหน้าไปสู่ความเป็น ARI Tech มากขึ้น และ เป็นการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น สามารถแข่งขันเทียบเท่ากับประเทศอื่น ๆ ในตลาดอาเซียน และ ทั่วโลก ได้
เนื่องจาก ARI Tech ของแต่ละประเทศที่พัฒนาออกมา จะไม่สามารถมาใช้กับตลาดในประเทศไทยได้ เพราะแต่ละประเทศจะมีภาษาที่เป็นของตนเอง ประกอบกับพฤติกรรมและวัฒนธรรม ความชอบ- ไม่ชอบ ก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการลงทุนในส่วนของ Deep Technology ในเรื่อง ARI Tech ของประเทศไทย จึงถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันถ้าประเทศไทยมีผู้ประกอบการเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup) และ ARI Tech เป็นของตนเองในการต่อยอดขยายผลไปสู่ผลิตภัณฑ์บริการ และ Solution ใหม่ ๆ
ดังนั้น ที่ผ่านมาทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ฯ หรือ NIA ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้มาตลอด มีการวางกลยุทธ์ในการเข้าไปร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ มากมาย เพื่อจะสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup) เข้ามาสู่ตลาดอุตสาหกกรม ARI Tech ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เช่น จับมือกับบริษัทหัวเว่ย์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในการจัดอบรม "ARI Tech Capability 2022" ขึ้น เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากำลังผู้ประกอบการเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup) ในด้าน ARI Tech ขึ้นมา ที่ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและการพัฒนากำลังคนให้มีความรู้ ความสามารถ ในการเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ ที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ อีกทั้งช่วยให้เกิดการตอบโจทย์พัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ต่าง ๆ อีกด้วย
นอกจากนี้ที่ผ่านมา นายปริวรรต กล่าวเสริมว่า NIA ยังได้จับกับภาคเอกชนอื่น ๆ อีก เช่น โรงพยาบาลวิมุต, บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด หรือ AIS, บริษัทพฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด ในการพัฒนาพื้นที่บริเวณถนนอารีย์ ให้เป็นย่านทดสอบ หรือ Sand Box ในการให้ผู้ประกอบการเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup) มาทดลองใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ ที่พัฒนามาจาก ARI Tech กับผู้บริโภค ร้านค้า เพื่อค้นหา Feed back การใช้งานจริงเพื่อจะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น และ มีนวัตกรรมใหม่ ๆ มากขึ้น
ดังนั้นผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรม "ARI Tech Capability 2022" ก็สามารถมีเวทีในการนำความรู้ที่ได้รับมาต่อยอดสู่การใช้งานในสนามจริงนี้ เพราะ NIA ไม่เพียงแต่จะสนับสนุนในเรื่องของทุนทรัพย์เท่านั้น ยังสนับสนุนในเรื่องของการเฟ้นหาพันธมิตรต่าง ๆ ที่จะช่วยพัฒนาบุคลกรในสายของผู้ประกอบการเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup) ได้เข้าใจสามารถนำเทคโนโลยี ARI Tech ไปพัฒนาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้างเพื่อต่อยอด หรือ ขยายผล ไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ บริการ ใหม่ ๆ ในอนาคตที่โลกกำลังหมุนสู่ความเป็น ARI Tech เต็มตัวมากขึ้น
No comments:
Post a Comment