พิธีลงนามความร่วมมือการจัดาแข่ง วูซู นานาชาติ ชิงถ้วย Sanda ในงาน SandaWorldClup 2024 ครั้งที่ 10 ณมณฑลซานซี กับ กรุง เมเบิร์น ประเทศ ออสเตรเลีย - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Thursday, 1 December 2022

พิธีลงนามความร่วมมือการจัดาแข่ง วูซู นานาชาติ ชิงถ้วย Sanda ในงาน SandaWorldClup 2024 ครั้งที่ 10 ณมณฑลซานซี กับ กรุง เมเบิร์น ประเทศ ออสเตรเลีย

โดยมีMr.Walt Missingham รองประธานสหพันธ์วูซู นานาชาติ 
Mr.Tony Chen ซีอีโอ สเปซ พลัส กรุงเทพ Mr.Steven Zheng รองประธาน คณะกรรมการจัดงาน ร่วมลงนามที่ สเปซ พลัส อาร์ซีเอ กรุงเทพ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน. 2565
กีฬาวูซูเป็นกีฬาศิลปะการต่อสู้ของชาวจีน และเป็นศิลปะทางวัฒนธรรมที่มีความยาวนาน และมีบทบาทสำคัญในทุกยุคสมัยที่มีการรบทัพจับศึกของประเทศจีนแต่โบราณกาล คำว่า วูซู แปลตรงตัวว่า วิทยายุทธ ในภาษาของชาวพื้นเมือง วูซู เรียกว่า กังฟู ต่อมาเมื่อจีนเปิดประเทศ และได้ให้การพัฒนาวิชาวูซูเป็นกีฬา จึงได้ให้การเรียกขานให้ถูกต้องว่า วูซู (WUSHU) วิชาวูซูยังเป็นวิชาต้นแบบของวิชาต่อสู้ป้องกันตัวที่มีชื่อในหลายวิชาของทวีปเอเชีย
จากนั้นประเทศไทยได้นำวิชาวูซู เข้าสู่ประเทศมาตั้งแต่โบราณ และมีการฝึกสอนและถ่ายทอดกันเฉพาะแก่ลูกหลานชาวจีน จึงไม่เป็นที่แพร่หลาย แม้แต่ปัจจุบัน คนไทยรู้จัก วูซู เพียงแค่การรำมวยจีนเพื่อสุขภาพเท่านั้น

สมาคมวูซู ได้ตั้งขึ้นในประเทศไทยแห่งแรกเมื่อ พ.ศ.2521 โดยอาจารย์บลู ดิษยบุตร และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเป็นสมาคมกีฬาวูซูในปี พ.ศ. 2529 และในเวลาต่อมา และการกีฬาแห่งประเทศไทยก็ได้สนับสนุนอีกด้วย จากนั้นก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นสมาคมสหพันธ์วูซูแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ 2534 กติกาวูซู

ประเภทยุทธลีลา 7 ชนิด คือ

ยุทธลีลาสฉางฉวน (มวยยาวหรือมวยเหนือ)
ยุทธลีลาหนาวฉวน (มวยใต้)
ไท้จี๋ฉวน (มวยไทเก็ก)
ยุทธลีลากระบี่
ยุทธลีลาดาบ
ยุทธลีลาไม้พลองยาว
ยุทธลีลาทวน
การแข่งขันยุทธลีลา ใช้เวลาในการแสดงไม่ตำกว่า 1 นาที 20 วินาทีเกณฑ์การตัดสินทั้ง 7 ประเภท

เริ่มจากค่าคะแนน 10   คะแนนแบ่งเป็น 3 ส่วน

ท่าทางยุทธลีลา 6 คะแนน

การประสานพลังยุทธต่อเนื่อง 2 คะแนน

คุณสมบัติที่มี 6 ประการ 2 คะแนน

การแข่งขันประลองยุทธ เป็นการต่อสู้ตัวต่อตัว ปัจจุบันจึงมีเฉพาะแต่ในประเภทชายเท่านั้น มีทั้งประเภททีมและบุคคล เวลาชก ยกละ 2 นาที พัก 1 นาที กำหนดคู่ละ 3 ยก ถ้าชนะกัน 2 ยกก็ถือว่าชนะเลย แต่ถ้าชนะกันคนละยกก็ต้องชกยกที่ 3 เพื่อตัดสิน แบ่งตามรุ่นน้ำหนักมีรุ่น 52 - 56 - 60 - 65 - 70 - 75 - 80 - 85 - 90 และ 90 กก.ขึ้นไปนักกีฬาคนหนึ่งเข้าแข่งขันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (ในเวลาต่างกัน)

การได้และเสียคะแนน

ฝ่ายใดตกเวที 1 ครั้ง คู่ต่อสู้จะได้ 3 คะแนน
เตะคู่ต่อสู้ถูกลำตัว 1 ครั้ง ได้ 2 คะแนน
เตะหน้าขาคู่ต่อสู้ 1 ครั้ง ได้ 1 คะแนน
ถ้าฝ่ายหนึ่งถูกเตือน อีกฝ่ายจะได้ 1 คะแนน  ถ้าเหวี่ยงล้มทั้งคู่ ฝ่ายล้มทีหลังจะได้ 1 คะแนน การต่อสู้ที่ได้คะแนนตามจุดของร่างกายคือ จุดที่ลำตัว หัว แขนและขา จุดที่ผิดกติกาคือ จู่โจมท้ายทอย ท้องน้อย คอหอย ผ่าหมาก หัวชน ศอก เข่า จู่โจมศีรษะแบบต่อเนื่อง (ซ้ำ) จับหักข้อต่อ ทำให้คู่ต่อสู้ล้มหัวฟาดพื้นจู่โจมซ้ำเมื่อคู่ต่อสู้ล้มลง เข้ากวดคู่ต่อสู้อย่างเดียวไม่ต่อสู้





No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages