เชฟลี พิจิกา โรจน์ศตพงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าของบริษัท คอนเซพท เคส จำกัด, เชฟ นักออกแบบอาหาร ผู้คร่ำหวอดในวงการ “อาหาร” มากว่า 20 ปี ทั้งจากการเป็นผู้บริโภค และเป็นผู้ออกแบบเมนูสินค้าอาหารให้แก่บริษัทต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และร้านอาหารชั้นนำ เล่าว่า การใช้ชีวิตบนโลกใบนี้เราทุกคนจะต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บทั้งเกิดขึ้นเองจากอายุไข และเกิดจากโรคระบาด อย่างเช่นโรคโควิด-19 และสิ่งหนึ่งที่เราสามารถเลือกทำได้เพื่อตัวเราเองที่จะทำให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข โดยการออกแบบอาหารให้กลายเป็น “วัคซีนอาหาร” ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และนำเสนอเมนูอาหารที่พบเห็นหลากหลายในชีวิตประจำวัน มาให้ผู้ทานได้รู้จักและสัมผัสกับประสบการณ์การทานอาหารที่ทำให้เกิดเป็นวัคซีนแบบที่ทุกคนเลือกได้ในงานเปิดโต๊ะ “วัคซีนอาหาร” จุดแรงบันดาลให้ “กินอาหารให้เป็นวัคซีน”
“เริ่มต้นช่วงโควิด เรารู้สึกว่า มีการแสวงหาให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี ในช่วงที่มีเชื้อไวรัสระบาด จริงๆ แล้วในการที่เรามีอาหารอยู่ในบ้าน เปิดตู้กับข้าวมา เปิดตู้เย็นมา ทุกอย่างเป็นยาหมด เรารู้อยู่แล้วว่าอาหารเป็นยา โดยได้รับการสอนมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายแล้วว่า อะไรคืออาหารเป็นยา แต่เราก็ลืมนึกไปว่าคนไทยเองมีอาหารที่มีอยู่แล้วหลังครัวนั้นก็เป็นยา เราก็เลยคิดว่า นั่นแหละคือวัคซีน ที่เราไม่ต้องรอยาที่ฉีด เราก็สามารถได้รับวัคซีนที่มาจากอาหาร และ กินได้ทันที” เชฟลี พิจิกา เล่าให้ฟังอย่างเป็นกันเอง
แนวคิด “วัคซีนอาหาร” โดยเชฟลี พิจิกา ยังผสมผสานกับศาสตร์การแพทย์แผนจีนและไทย เข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยเชฟลีเล่าว่า ประวัติศาสตร์การกินของมนุษย์ย้อนไปเป็นพันกว่าปีจะมีเรื่องของพลังชิ หรือ การกินที่ปรับสมดุลธาตุในร่างกาย เช่น ธาตุร้อน และ ธาตุเย็น คือพลังหยินและหยาง โดยเป็นหลักการอย่างหนึ่งในการนำมาปรับสมดุลร่างกาย
เชฟลี พิจิกา วางตัวเองเป็น “นักเล่านิทานอาหาร” ที่จะบอกเรื่องราวของที่มาของพืชผักที่นำมาขึ้นโต๊ะอาหาร หรือ นำมาปรุงเป็นอาหารในเมนูต่างๆ โดยใช้ประสบการณ์ความชอบตั้งแต่เด็ก และ บวกกับประสบการณ์ที่เคยอาศัยอยู่ในต่างประเทศตั้งแต่เด็ก นำมาสู่เส้นทางการเป็น “นักเล่านิทานอาหาร”
ปัจจุบัน เชฟลีมีคอร์สเปิดสอนทำอาหาร โดยคอร์สที่โดดเด่น ได้แก่ คอร์สดีไอวาย (DIY) และ คอร์ส “storytelling” สำหรับผู้ประกอบการ และนิสิตนักศึกษามหาลัยในกลุ่มนวัตกรรมอาหาร ที่ทางเชฟลี ได้เป็นอาจารย์พิเศษสอน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันชั้นนำระดับโลกอย่าง “Le Cordon Bleu” มหาวิทยาลัยหอการค้า กลุ่มเกษตรกรจากพัฒนาชุมชนของแต่ละจังหวัด รวมถึงจะมีคอร์สที่จะเปิดเร็วๆ นี้ร่วมกับสถาบันอาหารแห่งประเทศไทย ส่วนคอร์สการศึกษาสำหรับนักท่องเที่ยวก็มี อย่างเช่นการเดินทางไปเรียนรู้ประสบการณ์อาหารกับกลุ่มชาวบ้านเกษตรกร และจับปลา ที่ทำร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในรูปแบบ “Gastronomy Tourism” ที่เป็นการออกแบบเส้นทางอาหารร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นำเสนอกับฝ่ายตลาดของทั้งใน และต่างประเทศ โดยดึงธรรมชาติของแต่ละคนมาสู่การออกแบบอาหารในแต่ละเมนู รวมทั้งเชฟลี พิจิกา ยังมีความสามารถที่หลากหลาย โดยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการธุรกิจอาหารแปรรูป และอาหารแห่งอนาคต สภาหอการค้าไทย
“เชฟลี พิจิกา” ยังเป็นทั้งผู้จัดและพิธีกรผู้ดำเนินรายการ “ฟู้ดฮันเตอร์” โดยเชฟลี พิจิกา “ซอก แซก แซ่บ สะใจ” ออกอากาศสดทางคลื่นวิทยุ 96.0 FM และ social media
มีผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “Chef LeePijika” ที่นำเอาประสบการณ์การเดินทางทั้งหมดที่เก็บเกี่ยวอาหารในระหว่างทาง มาจำหน่ายและช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรทั้งรากหญ้า และผู้ประกอบการอาหารสำเร็จรูปต่างๆ และมีแพลนที่จะนำการออกแบบอาหารไปจำหน่ายเผยแพร่ในรูปแบบ “Pop-up Kitchen” ที่เพิ่งเปิดตัวไปในงาน “ThaiFex Anuga 2023” ที่มีการนำเอาผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ชั้นนำจากในและต่างประเทศอย่าง Real California Milk (USA), บริษัทเบทาโกร (มหาชน) จำกัด, บริษัทแม่ศรี, บริษัทพูนสินทั่งง่วนฮะ, ข้าวQ Rice, Hemp Pro, Hokkaido Milk, ผลิตภัณฑ์จากโครงการ “คนละดอย” และในรูปแบบ “Cloud Kitchen” ที่ร่วมกับร้านอาหารที่มีชื่อเสียง
No comments:
Post a Comment