ปรากฏการณ์น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามภาวะโลกร้อน (Climate Change) ส่งผลต่อระบบนิเวศของชีวิตตามธรรมชาติในท้องทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของมนุษย์ ที่นำไปสู่วิกฤติการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรสัตว์น้ำตามธรรมชาติ จนต้องแก้ไขเยียวยาด้วยการเพาะเลี้ยงขึ้นทดแทน
รองศาสตราจารย์ ดร.ไกร มีมล อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล จากที่ผ่านมาได้ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วิจัยค้นพบ "สารสกัดจากปลิงทะเลดำ" (Sea Cucumber Extract) ซึ่งเป็นสัตว์น้ำไร้กระดูกในทะเลที่มีรูปร่างคล้ายผลแตงกวา มีฤทธิ์ทางยาที่ช่วยในการป้องกันโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ และชะลอวัยเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
ที่ผ่านมา "ปลิงทะเลขาว" เป็นที่นิยมมากกว่า "ปลิงทะเลดำ" ทั้งๆ ที่มีแหล่งกำเนิด และคุณค่าที่ใกล้เคียงกัน โดยสารสกัดจากปลิงทะเลดำที่ทีมวิจัยค้นพบมีชื่อว่า "decanoic acid" มีฤทธิ์ช่วยลดการสะสมของโปรตีนซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำลายระบบประสาทและสมองของมนุษย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดและวิธีการรักษาให้หายขาด แต่สามารถชะลอหรือบรรเทาไม่ให้เกิดความรุนแรงจนถึงขั้นไม่สามารถควบคุมหรือช่วยเหลือตัวเองได้ ด้วยการหมั่นสังเกตอาการ และเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ในทันทีที่มีอาการผิดปกติ ได้แก่ อาการสั่นขณะพัก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า และขาดสมดุลในการทรงตัว
จากการสั่น เกร็ง ตลอดจนปัญหาในการเคลื่อนไหวที่ไม่อาจคาดเดาได้ ซึ่งต่างจากอาการสั่นขณะพัก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า และขาดสมดุลในการทรงตัว
ผลงานวิจัย "สารสกัดจากปลิงทะเลดำ" ได้รับการตีพิมพ์โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ไกร มีมล เป็นหัวหน้าทีมวิจัยในวารสารวิชาการระดับแนวหน้า (Q1) ได้แก่ "Biomedicine & Pharmacotherapy", "Frontiers in Pharmacology" และ "Marine Drugs" และได้ต่อยอดสู่ความร่วมมือในการส่งนักศึกษาปริญญาเอกของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปร่วมทำวิจัย ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein College of Medicine) ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ชั้นนำแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อเร็วๆ นี้
รองศาสตราจารย์ ดร.ไกร มีมล ทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยจัดอยู่ประเทศแถบร้อนชื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งรอคอยการค้นพบสู่การสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอีกมากมาย แม้จะเป็นเพียงการค้นพบในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งยังอยู่ในช่วงต้นน้ำ ในอนาคตทีมวิจัยพร้อมต่อยอดมุ่งสู่ปลายน้ำ
No comments:
Post a Comment