สหรัฐอเมริกาอนุญาตให้นำเข้าส้มโอฉายรังสีของไทยเป็นครั้งแรก สทน.พร้อมให้บริการฉายรังสีเต็มกำลังในฤดูกาลปี 2567 นี้ - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Thursday, 16 November 2023

สหรัฐอเมริกาอนุญาตให้นำเข้าส้มโอฉายรังสีของไทยเป็นครั้งแรก สทน.พร้อมให้บริการฉายรังสีเต็มกำลังในฤดูกาลปี 2567 นี้

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566  สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ร่วมแถลงข่าว “ผลการดำเนินงานของโครงการศึกษาผลของการฉายรังสีต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว มะม่วง มหาชนก และส้มโอ เพื่อการส่งออกประเทศสหรัฐอเมริกา” และ “การดำเนินกิจกรรมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ผลงานวิจัยสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก” ซึ่งเป็นผลงานร่วมวิจัยระหว่าง สทน. และ รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวร งานแถลงข่าวจัดขึ้น ณ ศูนย์ฉายรังสี เทคโนธานี ต.คลองห้า  จ.ปทุมธานี โดยมี ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์  รองผู้อำนวยการสถาบัน ฯ และหัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมด้วย นักวิจัยร่วม ดร.สุวิมล เจตะวัฒนะ จาก สทน. เข้าร่วมแถลงผลงาน    

ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ รองผู้อำนวยการ สทน. และหัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า ส้มโอเป็นผลไม้สด ชนิดที่ 8 ของไทย ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตรสหรัฐให้สามารถส่งออกเชิงพาณิชย์ไปสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 โดยไม่จำกัดสายพันธุ์ นอกเหนือไปจากผลไม้อื่นที่ได้รับอนุญาตไปก่อนหน้านี้แล้ว ได้แก่ มะม่วง มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ สับปะรด เงาะ และแก้วมังกร โดยกำหนดให้ผลไม้สดที่จะส่งไปต้องผ่านกระบวนการฉายรังสีปริมาณขั้นต่ำ 400 เกรย์ อันเป็นมาตรการป้องกันไม่ให้ไข่แมลงศัตรูพืช ที่อาจติดไปกับผลไม้ฟักเป็นตัว และเกิดการแพร่ระบาดของแมลงในประเทศปลายทาง     

สำหรับโครงการวิจัยครั้งนี้ สทน. ดำเนินในขั้นตอนการฉายรังสี ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนส่งออก โดยทีมนักวิจัยได้นำส้มโอหลากหลายพันธุ์มาฉายรังสีแกมมาที่ปริมาณรังสี 400 เกรย์ แล้วศึกษาความ สม่ำเสมอในการกระจายของรังสี (dose mapping) ในบรรจุภัณฑ์ส้มโอและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพส้มโอ ภายหลังการฉายรังสีแกมมา เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของทางสหรัฐอเมริกา ผลปรากฏว่า dose mapping จากการทดลองและขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่กำหนดได้รับการรับรองจากหน่วยงานบริการตรวจสอบ สุขภาพสัตว์และพืช (Animal and Plant Health Inspection Service หรือ APHIS) ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ซึ่งถือเป็นความสำเร็จทำให้ผู้ประกอบการไทยพร้อมที่จะส่งออกส้มโอผลสดได้ ส้มโอที่ผ่านการฉายรังสีแกมมาหรือรังสีเอกซ์สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13-15 เซลเซียสได้นาน 60 วัน โดยไม่มีผลต่อคุณภาพและรสชาติเมื่อเทียบกับส้มโอที่ไม่ผ่านการฉายรังสี   

ในระหว่างวันที่ 20 - 23 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา คณะผู้วิจัยได้นำส้มโอจำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ทองดี ขาวน้ำผึ้ง ขาวแตงกวา ขาวใหญ่ และทับทิมสยาม ที่ผ่านการฉายรังสีแล้วไปจัดแสดงในงาน Natural Products Expo East 2023 ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นงานแสดง สินค้าที่จัดขึ้นเพื่อการเจรจาการค้า  และแสดงผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์จากธรรมชาติออร์แกนิกและอาหารเพื่อ สุขภาพที่ใหญ่ที่สุดทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา มีผู้แสดงสินค้าจากทั่วโลกเข้าร่วมมากกว่า 1,000 ราย และมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมชมงานกว่า 16,000 คน ที่มาจากผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าส่งและปลีก ตัวแทนการขาย โบรกเกอร์ ผู้ให้บริการอาหาร ผู้ประกอบ วิชาชีพทางการแพทย์ และภาคอุตสาหกรรม ภายในงานพบว่าผู้บริโภคกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับส้มโอไทยมาก่อน แต่ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ได้ทดลองชิม มีความชื่นชอบในรสชาติของส้มโอไทยเป็นอย่างมาก และต้องการซื้อ หากมีวางจำหน่ายในตลาดสหรัฐอเมริกา   

สำหรับมะม่วงมหาชนกซึ่งตลาดทางสหรัฐอเมริกามีความต้องการมาก เนื่องจากมีรูปร่างและสีสันสวยงาม ที่มา พร้อมกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ ถึงแม้สหรัฐอเมริกาจะอนุญาตให้นำเข้ามะม่วงฉายรังสี ตั้งแต่ปี 2551 แล้ว แต่ยังไม่มีผู้ประกอบการส่งออกมะม่วงพันธุ์ดังกล่าวไปจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกา เนื่องจาก ยังไม่มีการศึกษาในเชิงลึกสำหรับการฉายรังสีและการเก็บรักษาในขณะส่งออกของมะม่วงสายพันธุ์ดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้มะม่วงเสียหายเมื่อถึงประเทศปลายทาง จากการศึกษาครั้งนี้นักวิจัยพบว่า การใช้กระบวนการ หลังการเก็บเกี่ยวที่ดีร่วมกับการฉายรังสีแกมมา  หรือ รังสีเอกซ์ไม่มีผลต่อคุณภาพและรสชาติของมะม่วง มหาชนก สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13-15 เซลเซียสได้นาน 14 วัน กล่าวโดยรวมแล้ว  การฉายรังสี ไม่ทำลายคุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติด้านสารอาหารในมะม่วงมหาชนก แต่สามารถยืดอายุได้จาก ประมาณ 9 วัน เป็น 14 วัน ซึ่งเหมาะกับการส่งออกทางอากาศไปตลาดสหรัฐอเมริกา 








No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages