พว. พัฒนาส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Wednesday, 28 February 2024

พว. พัฒนาส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning)

พว. พัฒนาส่งเสริมคุณภาพการศึกษา  ด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning)  ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps  เพื่อพัฒนา นวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียน  

เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคาร พว. ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึก ความเข้าใจ ความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) จำนวน 2 ฉบับ โดยฉบับแรกเป็นการลงนามระหว่างโรงเรียนยอแซฟพิจิตร กับสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) โดยมีนางสาวชนิดาภา จันทะโก  รองผู้อ านวยการโรงเรียนยอแซฟพิจิตร กับ ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์  ประธานกรรมการบริหาร สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)  ร่วมลงนาม  และฉบับที่ 2 เป็นการลงนามระหว่างโรงเรียนเซนต์โยเซฟเพชรบุรี กับสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) โดยนางสาวพรนภา ปรัชญาคุณ ผู้อ านวยการโรงเรียนเซนต์โยเซฟเพชรบุรี กับ ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ร่วมลงนาม   

การดำเนินงานตามข้อตกลงความร่วมมือนี้จะอยู่ในรูปแบบของการประสานงานความร่วมมือของสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) กับโรงเรียนแต่ละแห่งดังกล่าวข้างต้น โดยตระหนักถึงความสำคัญ และ ประโยชน์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันที่มีต่อการพัฒนาการเรียนรู้แบบ Active Learning   การดำเนินงานตามกรอบแนวทางความร่วมมือดังกล่าว ให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการศึกษาที่ได้กำหนดกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ  เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนในปัจจุบันไปสู่การเรียนรู้ ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps  ภายใต้หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standard-based Curriculum) ด้วยการพัฒนาคุณภาพ และศักยภาพ  รวมทั้งส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาชีพของครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนยอแซฟพิจิตร และโรงเรียนเซนต์โยเซฟเพชรบุรี ในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มี ความถนัด และความฉลาดที่แตกต่างกัน ผู้เรียนสามารถถักทอสร้างความรู้ได้เองจนถึงระดับหลักการ เกิดสมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกด้าน รวมทั้งเกิดผลลัพธ์เป็นผลผลิต เช่น ชิ้นงาน โครงงาน นวัตกรรม จนส่งผล ให้ผู้เรียนทุกคนสามารถพัฒนาเป็นนวัตกรได้ ตามที่ยุทธศาสตร์ชาติกำหนดไว้ 








No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages