เมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. ณ บ้านคุ้งกระถิน หมู่ที่ 1 ตำบลคุ้งกระถิน และ บ้านเจดีย์หัก หมู่ที่ 3 ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี มอบหมายให้ นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และปลัดจังหวัดราชบุรี นายไกรธวัช ทินโสม พร้อมด้วย พัฒนาการจังหวัดราชบุรี นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ ร่วมลงพื้นที่พร้อมทีมมหาดไทยระดับจังหวัด จังหวัดราชบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ศูนย์การเรียนรู้การคัดแยกขยะแบบครบวงจรและการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน บ้านคุ้งกระถิน หมู่ที่ 1 ตำบลคุ้งกระถิน และ วัดเจติยาราม บ้านเจดีย์หัก หมู่ที่ 3 ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เพื่อรับฟังสรุปผลการดำเนินงาน และตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ สนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทยของนายอำเภอและทีมอำเภอ รวมถึงรับฟังปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนงาน และให้ข้อเสนอแนะเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่ ซึ่งในการลงพื้นที่ดังกล่าว ได้มีการติดตามผลการดำเนินงาน รวมถึงรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ให้ข้อแนะนำและให้กำลังใจในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทยในการยกระดับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชน โดยเน้นย้ำการขับเคลื่อนภารกิจที่สำคัญ ดังนี้
1. ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) อย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมพื้นที่ทุกหมู่บ้าน โดยกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดตัวชี้วัดพื้นฐาน 8 ข้อ ประกอบด้วย 1 ที่อยู่อาศัย มั่นคงแข็งแรง ครัวเรือนมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ 2 มีความมั่นคงทางอาหาร 3 ความสะอาด ส่งเสริมการคัดแยกขยะต้นทาง การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน การจัดการขยะชุมชน 4 ความสามัคคี ภายในหมู่บ้าน/ชุมชน 5 ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในหมู่บ้านชุมชน 6 การปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ความจงรักภัคดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 7 ความมั่นคงปลอดภัย 8 การมีน้ำสะอาดสำหรับใช้ในกานอุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี
2. โครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน
3. การสร้างทีมภาคีเครือข่าย 7 ภาคีเพื่อร่วมบูรณาการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ได้ครอบคลุมทุกมิติ คุณธรรม
4. การจัดระเบียบทางสังคม
5. การสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเอง ปลอดภัยจากสารพิษ รวมถึงการดำเนินโครงการ "ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน" เพื่อเป็นคลังอาหารชุมชนให้แก่คนในหมู่บ้านชุมชน
6. โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา รณรงค์ให้มีการแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้แก่กลุ่มผู้ผลิตผ้า รวมถึงสนับสนุนองค์ความรู้ ช่องทางการตลาดแก่กลุ่มผู้ผลิตผู้ทอผ้า
7. การขับเคลื่อนธนาคารขยะและถุงขยะเปียกลดโลกร้อน รวมไปถึงการใช้พลังงานสะอาด พลังงานทดแทนเพื่อเป็นการลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาโลกร้อน สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
8. การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตรตามแนวพระราชดำริ โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์เรียนรู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้สนใจได้
9.โครงการทางนี้มีผลผู้คนรักกัน ถนนกินได้ 1,073 เส้นทาง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (คจพ.จ.) ได้รับทราบประเด็นข้อสั่งการของปลัดกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกระดับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชน โดยการขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) การสร้างความมั่นคงทางอาหาร โครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดล รวมถึงนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี โครงการ ทางนี้มีผล ผู้คนร้กกัน ถนนกินได้ 1,073 เส้นทาง เฉลิมพระเกียรติฯ โดยสนับสนุนขับเคลื่อนการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องต่อไป ในการลงพื้นที่ในครั้งนี้
- จุดที่ 1 บ้านคุ้งกระถิน หมู่ที่ 1 ตำบลคุ้งกระถิน
- จุดที่ 2 บ้านเจดีย์หัก หมู่ที่ 3 ตำบลเจดีย์หัก
ทีมอำเภอเมืองราชบุรี ได้นำเสนอผลการขับเคลื่อน (Best Practice) ดังนี้ 1. ขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 72 พรรษา อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยมีการบูรณาการขับเคลื่อนโครงการทั้งผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น 7 ภาคีเครือข่ายการพัฒนา และประชาชนจิตอาสาในหมู่บ้าน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในหมู่บ้านให้ดีขึ้นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจัดระเบียบเรียบร้อยและดูแลความสงบสุขของประชาชน โดยผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นร่วมตรวจเวรยามดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัย จัดตังศูนย์การเรียนรู้การคัดแยกขยะแบบครบวงจรและการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนและธนาคารขยะของชุมชนโดยมีรายได้จากการจำหน่ายขยะเข้าสู่กองทุนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านต่อไป รวมถึงศูนย์เรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร มีการจัดทำแปลงผักสวนครัวปลอดสารเพื่อเป็นแหล่งอาหารให้แก่คนในชุมชน และเป็นจุดถ่ายทอดองค์ความรู้ของหมู่บ้าน
2. การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนร่วมกับ 7 ภาคีเครือข่าย และการบูรณาการกับวัดตามหลัก "บวร" โดยเจ้าอาวาสวัดเจติยารามได้ร่วมขับเคลื่อนการสร้างความมั่นคงทางอหาร ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงเป็ด เพื่อเป็นคลังอาหารปลอดภัยให้แก่คนในชุมชน และจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ 9 ตามรอยพ่อ เพื่อพอเพียงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินโครงการเยี่ยมผู้ป่วยพิการติดเตียงโดยคณะสงฆ์อำเภอเมืองราชบุรี เป็นต้น
สุพจน์ วรสหวัฒน์/รายงาน
No comments:
Post a Comment