BMHH พร้อมเปิดนวัตกรรมทางเลือกใหม่ dTMS รักษาโรคซึมเศร้า
โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช BMHH หรือ Bangkok Mental Health Hospital เปิดนวัตกรรมการรักษาโรคซึมเศร้าล่าสุดด้วย dTMS (Deep Transcranial Magnetic Stimulation ที่ศูนย์โรคซึมเศร้าแบบครบวงจร (Comprehensive Depression Center) ให้บริการที่ครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การประเมินอาการ การวินิจฉัย และการรักษาที่หลากหลาย โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพที่คอยดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ในปัจจุบันโรคซึมเศร้าได้กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมไทย ตามข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า ในปี 2566 มีคนไทยกว่า 1.5 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า และมีจำนวนผู้ที่เข้ารับการรักษาโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตาม คาดว่ามีผู้ที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาอีกหลายล้านคน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงและการกระจายตัวของโรคนี้ทั่วประเทศ สถิติที่น่ากังวลนี้ชี้ให้เห็นว่าการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพยังคงเป็นปัญหาสำคัญ ผู้ป่วยหลายคนไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบดั้งเดิม ส่งผลให้การนำเทคโนโลยีใหม่ นวัตกรรมการรักษาแนวใหม่ ๆ dTMS (Deep Transcranial Magnetic Stimulation) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการมอบทางเลือกใหม่ให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง
แพทย์หญิง ณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์ BMHH หรือ Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า “ ปัจจุบันการรักษาโรคซึมเศร้ามีการรักษาหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา, การทำจิตบำบัด และล่าสุดได้นำการรักษาด้วย dTMS หรือ Deep Transcranial Magnetic Stimulation คือการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นสมองในจุดที่มีผลต่อโรค เพื่อกระตุ้นทำให้เกิดกระเเสประสาท ทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีในสมอง ที่จะช่วยปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติและลดการเกิดอาการซึมเศร้าลงได้ โดยการรักษาด้วย dTMS นี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่ามีความปลอดภัยเเละมีประโยชน์ช่วยในการรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีผลข้างเคียงจากยา ไม่ตอบสนองต่อยา หรือรับประทานยาเกินหนึ่งปีแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น แต่ในปัจจุบันมีการนำ dTMS มาใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการทำจิตบำบัดเเละการกินยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรักษาให้ดีขึ้น”
การทำงานของ dTMS (Deep Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นบริเวณสมองส่วนหน้า ในแต่ละครั้งจะกระตุ้นผ่านหมวกอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสวมใส่ที่ศีรษะโดยจะกระตุ้น 2 วินาที และเว้นพักเป็นระยะเวลา 20 วินาที จึงกระตุ้นซ้ำต่อเนื่องไป 20-30 นาที ผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นกับจำนวนครั้งสะสมของการกระตุ้น แต่มีข้อจำกัดในการกระตุ้นแต่ละวัน จึงจำเป็นต้องกระตุ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 10-15 วัน หรือเว้นไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ก่อนรับการรักษาด้วย dTMS จิตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยทุกราย
โรคซึมเศร้ายังคงเป็นสิ่งที่น่าห่วงโดยเฉพาะสถานการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันของสังคมไทย BMHH เห็นความสำคัญของการรักษาโรคซึมเศร้าซึ่งยังคงเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด การเปิดตัวเทคโนโลยี dTMS จึงเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่ช่วยเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการรักษาให้กับผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยได้เข้าใจผู้ป่วยที่ต้องดูแลได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใส่ใจและตระหนักถึงสุขภาพจิตของตนเองมากขึ้น
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าศูนย์รักษาโรคซึมเศร้า BMHH แห่งนี้จะเป็นที่พึ่งพิงให้กับผู้ป่วยและส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในสังคม หากมีปัญหาสุขภาพจิต สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามและรับการตรวจ ได้ที่ รพ. BMHH ติดต่อสอบถาม 02 589 1889 Contact@bmhh.co.th “
No comments:
Post a Comment