สำนักงาน คปภ. เปิดเวทีเช็คความพร้อมธุรกิจประกันภัยเข้าสู่โหมด Digital Insurance เต็มรูปแบบ - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Monday, 9 December 2024

สำนักงาน คปภ. เปิดเวทีเช็คความพร้อมธุรกิจประกันภัยเข้าสู่โหมด Digital Insurance เต็มรูปแบบ

สำนักงาน คปภ. เปิดเวทีเช็คความพร้อมธุรกิจประกันภัยเข้าสู่โหมด Digital Insurance เต็มรูปแบบ

ดร.ชญานิน เกิดผลงาม รองเลขาธิการ ด้านกลยุทธ์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เป็นประธานเปิดงาน “Emerging Technologies and Risks for the Insurance Industry: What You Need to Know สำหรับกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจประกันภัย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการสื่อสาร สร้างความเข้าใจในทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจประกันภัยไปสู่ Digital Insurance รวมทั้งทิศทางการดำเนินงานสำคัญในด้านเทคโนโลยีของสำนักงาน คปภ. ที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง แนวทางในการกำกับดูแลด้าน AI Governance ทิศทางในการส่งเสริม เรื่อง Open Data การปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องและเท่าทันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และความคาดหวังในบทบาทหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารระดับสูงในการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เมื่อวันที่  3 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรม อีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ

สำหรับเวทีการสัมมนาในครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจ คือ การกำหนดทิศทางและนโยบายของสำนักงาน คปภ. ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะขับเคลื่อนในปี 2568 แนวปฏิบัติ IT 3rd party risk management guideline การกำกับดูแล เรื่อง AI Governance และแนวทางในการส่งเสริม เรื่อง Open Data  บรรยายโดยนายสมเกียรติ วัฒนาประสบสุข  ผู้ช่วยเลขาธิการ สายเทคโนโลยีสารสนเทศ หัวข้อ Maximizing Board Effectiveness : Building A Cyber Resilient Culture  The Role of Lead Cyber Resilience in an Insurance Company บรรยายโดยนายประเสริฐ จารุศรีพัฒน์ หุ้นส่วนสายงานบริหารความเสี่ยงและตรวจสอบภายใน บริษัท PwC ประเทศไทย หัวข้อ Unlocking the potential of Open Data in Insurance Industry บรรยายโดยนายพันธ์ศักดิ์ เสตเสถียร หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย 

หัวข้อ Implementing AI Governance: Lesson Learned from the through real-world case studies บรรยายโดย นายศุภฤกษ์ เข็มเงิน  Assistant Managing Director - Technology Risk and Control Governance จาก กสิกร บิซิเนส เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) และหัวข้อ Key takeaway บรรยายโดยนายประทีป พึ่งวัฒนาพงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานโครงสร้างระบบและความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงาน คปภ.


ในโอกาสนี้ รองเลขาธิการ ด้านกลยุทธ์และเทคโนโลยี ได้กล่าวมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีและไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัด session ต่าง ๆ เพื่ออัพเดทความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบันให้กับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทประกันภัย ซึ่งเป็นผู้กำหนดและควบคุมนโยบายของบริษัท เพื่อให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมั่นคงและปลอดภัย อย่างไรก็ตาม สำนักงานฯ ได้ติดตามแนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยี ซึ่งกระแสของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Generative AI ที่กำลังได้รับความสนใจ เป็นหัวข้อที่ถูกกล่าวถึงในทุกเวที สะท้อนให้เห็นว่า AI ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นแล้ว สำหรับธุรกิจประกันภัย ได้เริ่มนำ AI มาใช้เช่นกัน แม้ว่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ท้ายที่สุด AI จะกลายมาเป็นอนาคตที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจประกันภัย นอกจากนี้ แนวโน้มในเรื่อง Open data เป็นเรื่องหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน    ด้านข้อมูลดิจิทัลของภาคการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นในการวิเคราะห์ตลาดและพัฒนาบริการต่าง ๆ และสำหรับการประกันภัย Open Insurance จะช่วยให้บริษัทมีข้อมูลเพื่อสนับสนุนเสนอการประกันภัยที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการและความเสี่ยงของลูกค้า ในขณะที่ลูกค้าก็จะได้รับบริการที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับความต้องการของตนเองได้ดียิ่งขึ้น 


อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ก็จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นตามมา ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงต้องการเตรียมความพร้อมให้กับกรรมการและผู้บริหารของธุรกิจประกันภัย ในการตระหนักและกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย และรับผิดชอบ เนื่องจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ นอกจากจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจแล้ว การกำกับดูแลข้อมูล ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการกำกับดูแล AI ก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยสำนักงาน คปภ. จะมีการพัฒนาหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เท่าทันสถานการณ์และสร้างความเข็มแข็งให้กับธุรกิจต่อไป 











No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages